Categories
good health

ทำร้ายตัวเองทางอ้อม 3 พฤติกรรม ไม่ควรทำในช่วงกักตัวอยู่กับบ้าน 14 วัน 

อันที่จริงเราต่างก็รู้ดีแก่ใจว่าช่วงนี้ประเทศไทยนั้นย่ำแย่เป็นอย่างมาก จากวิกฤตปัญหาเรื่องเชื้อไวรัสระบาด covid-19 หลายคนก็ต้องทำงาน work from home อยู่กับบ้าน หรือบางคนแย่หน่อยก็ตกงานเลยก็มี แต่เชื่อไม่ว่าหลายคนอาจจะพบเจอแย่ที่สุดก็คือกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน การดูแลสุขภาพของหลาย ๆ คนนั้น ผิดเพี้ยนไปจากปัจจุบันอย่างมากมาย อยากนำคำแนะนำของคุณหมอมาเตือน เพื่อจะได้ป้องกันโรคแทรกซ้อนในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น

1. ตามใจปากโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และความอ้วน ถามหาจ้า 

สำหรับเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กแต่อย่างใด เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับนิสัยคนไทยที่ได้พักผ่อนอยู่กับบ้านอย่างแท้จริง ถ้าใครไปทำงานเป็นประจำก็จะรู้ดีว่า สามารถออกกำลังกายได้ในช่วงเวลา ต่าง ๆ ในการทำงาน 

คุณอยู่บ้านสำหรับใครหลาย ๆ คนแล้วจะได้ช่วงเวลาที่ตามใจปาก ซึ่ง 10 – 15 วันนี้ไม่มีอาการป่วยคุณก็จะเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดหรือน้ำหนักขึ้นอย่างแน่นอน จึงอยากแนะนำให้พยายามออกกำลังกายเบา ๆ อยู่ที่บ้าน และงดอาหารที่มีไขมันสูง จะสามารถช่วยทำให้คุณลดความเสี่ยงเรื่องหลอดเลือดหัวใจหรือไขมัน รวมไปถึงความอ้วนได้มากพอสมควรเลยทีเดียว 

2. นอนน้อยกว่าปกติ เปลี่ยนแปลงนาฬิกาชีวิต แค่คิดก็พังแล้ว 

ในช่วงมีเวลาการพักผ่อนเยอะ หลายคนก็คงจะคิดว่าอยู่ที่บ้านหรือที่อาศัยก็คงไม่จำเป็นจะต้องห่วงอะไรกับการเดินทาง หรือการกินอยู่ จนละเลยเวลาการพักผ่อนปกติทั่วไป และทำให้นาฬิกาชีวิตคุณแปรปรวน สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้คุณนั้นบั่นทอนสุขภาพตัวเองทางอ้อมได้ คุณควรจะนอนพักผ่อนให้ตรงต่อเวลา เพื่อจะดูแลสุขภาพแล้วฟื้นร่างกายให้แข็งแรง จะทำให้คุณมีภูมิต้านทานต่อโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะ วิกฤตเรื่องเชื้อไวรัสที่แวดล้อมเราอยู่ตลอดเวลา 

3. งดอาหารเช้าหนักอาหารดึกชีวิตพังแน่ 

ความจริงที่น่าสะพรึงกลัวสำหรับการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ คือ การรับประทานอาหารตามใจตัวเอง สิ่งนี้สามารถทำให้คุณเจ็บป่วยได้ในอนาคต 

โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะทำให้ร่างกายนั้นอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก แล้วยังส่งผลต่อภูมิคุ้มกันในร่างกายอีกด้วย อยากจะแนะนำให้คุณรับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลาในช่วงนี้ โดยเฉพาะอาหารเย็นควรจะรับประทานให้น้อยลง แล้วควรจะรับประทานก่อน 18 : 00 น. จะทำให้คุณย่อยอาหารได้เต็มประสิทธิภาพ และช่วยในการดูดซึมสารอาหารได้อีกด้วย 

สรุป 

ช่วงเวลา 14 วันนี้หลายคนก็คงจะคิดว่ามันน่าเบื่อพิลึก ถ้าหากเราจะต้องทำตามกฎระเบียบทุกอย่างตลอดเวลาเหล่านี้ แต่เชื่อเถอะว่าสามารถช่วยดูแลสุขภาพของคุณได้จริง แถมถ้าคุณไม่ได้มีปัญหาสุขภาพอะไรก็จะทำให้สุขภาพคุณแข็งแรงยิ่งกว่าเดิม อารมณ์เหมือนกันปรับปรุงการทำงานของร่างกายครั้งใหญ่ บอกเลยว่ามีประโยชน์กับสุขภาพ และชีวิตคุณในอนาคตต่อไปอย่างแน่นอน เอาล่ะขอให้ทุกคนโชคดี 

ขอขอบคุณภาพจากhttps://pixabay.com/

ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com

Categories
good health

4 วิธีแก้ไขสุขภาพจิต เคล็ดลับแบบง่ายเริ่มต้นได้ที่บ้าน 

ในช่วงนี้ทุก ๆ คนน่าจะสูญเสียพลังทางด้านความรู้สึกในแง่บวกกันอย่างแน่นอน เพราะส่วนใหญ่นั้นมีแต่คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเชื้อไวรัส covid 19 แต่คุณเชื่อไหมว่ายังมีอีกโลกหนึ่งที่คนไทยกำลังพบเจอกันเป็นจำนวนมาก คือ สุขภาพจิต และความเครียด ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้สะสมอยู่ในความรู้สึกของทุกคนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ที่บ้าน และไม่สามารถออกไปไหนได้ เราจึงอยากจะแนะนำให้คุณรู้จักกับวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยตัวคุณเองแบบง่าย ๆ เริ่มต้นได้ที่บ้าน

1. การคลายความเครียดด้วยการออกกำลังกาย 

วิธีนี้ได้ผลดีมากสำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวเองนั้นหดหู่เศร้าหมอง และไม่ค่อยอยากจะทำอะไรในปัจจุบัน อยากแนะนำให้คุณนั้นพยายามออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค ภายในบ้านหรือหาอุปกรณ์แบบง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นผ้าขนหนู ขวดน้ำหรือว่าจะเป็นหนังสือเล่มใหญ่ ๆ ก็สามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายเป็นอย่างมาก ลดความเครียดได้ และยังทำให้คุณนั้นมีสุขภาพดีได้ง่าย ๆ โดยที่คุณไม่จำเป็นจะต้องออกไปออกกำลังกายภายนอก 

2. เปลี่ยนแปลงบรรยากาศของห้องและบ้านของคุณให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น 

สำหรับช่วงเวลาที่คุณรู้สึกเครียดหรือเบื่อที่คุณจะต้องใช้ชีวิตอยู่บ้าน ขอแนะนำให้คุณจัดแจงพื้นที่บ้านใหม่ ไม่ว่าจะเป็นมุมห้องที่ตกแต่งแล้วดูดีมีสไตล์ หรือจะเป็นการเคลื่อนที่ของเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านที่ทำให้คุณรู้สึกได้ว่าบ้านของคุณนั้นมีการเปลี่ยนแปลง และองค์ประกอบให้เหมือนเดิมจะทำให้คุณผ่อนคลายได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ชาวต่างชาตินิยมใช้เป็นอย่างมาก เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศรอบตัวสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้า และวิธีนี้ก็สามารถช่วยทำให้คุณนั้นผ่อนคลายได้เช่นเดียวกัน 

3. พยายามเปิดเมนูอาหารทำเอง 

การทำอาหารก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้ผลดีสำหรับการผ่อนคลายสุขภาพจิตใจของตัวเอง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดสะสมเมื่อเวลาเราอยู่บ้านเป็นเวลานาน ๆ แล้วไม่ได้ออกไปไหนเลย คุณก็สามารถใช้วิธีนี้ได้จะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนอาหารจานเด่นของคุณให้กลายเป็นรสชาติที่แปลกใหม่ จะมีประโยชน์มากกับคนขี้เบื่อ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเพิ่มสีสันในชีวิตประจำวันคุณได้รับรองได้งานนี้คุณคงจะไม่บ่นกับเรื่องอาหารที่ซ้ำซากจำเจอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นขอแนะนำให้คุณหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมนะเมนูเพียบเลย 

4. หาทางพูดคุย และทางระบายความรู้สึก 

นี่อาจจะเป็นวิธีการสุดท้ายที่อยากจะแนะนำ แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ สำหรับคนที่มีสุขภาพจิตย่ำแย่ และต้องการระบายความเครียดออกมา การที่เราได้เล่าให้ใครสักคนหนึ่งฟังในสิ่งที่เรารู้สึกไม่ดีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ก็ได้ผลดีมากที่สุดที่สามารถช่วยลดความเครียดได้อย่างทันท่วงที ขอแนะนำให้คุณพูดคุยกับเพื่อนสนิทหรือถ้าหากไม่มีก็สามารถติดต่อทางด้านทีมแพทย์โดยตรงได้ที่กรมสุขภาพจิตก็จะสามารถช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายได้มากเช่นเดียวกัน 

สรุป 

การดูแลสุขภาพจิตของตัวเองหรือคนที่คุณรักอยู่ในครอบครัวในช่วงเวลาที่โรคระบาด covid-19 กำลังคุกคามเข้ามาในชีวิตของคนไทย อยากแนะนำให้คุณนั้นดูแล และใส่ใจสุขภาพ แน่นอนไม่ว่าจะเป็นสุขภาพร่างกายแต่คุณก็ไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพจิตเช่นเดียวกัน หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลายขึ้นมาบ้าง กับโรคระบาดครั้งนี้ขอให้ทุกคนโชคดี 

ขอขอบคุณภาพประกอบโดย https://pixabay.com/

ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com

Categories
good health

อาการจิตตกปัญหาใหญ่

อาการจิตตกปัญหาใหญ่กว่าที่คุณคิด

หนึ่งในสภาวะโรคซึมเศร้าที่อยู่ใกล้ตัวคนไทยมาก 

แทบไม่น่าเชื่อว่าปัญหาอาการจิตตกของคนไทยทุกวันนี้เพิ่มสูงขึ้นมากเรื่อย ๆ เพราะว่าปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง covid – 19 น่าจะส่งผลโดยตรงกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน และการดำรงชีวิต แล้วถ้าหากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน ยิ่งทำให้อาการของคุณนั้นย่ำแย่ลงอย่างแน่นอน แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลใจเสมอไปจะมาแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหา และป้องกันพร้อมทั้งบรรเทาอาการจิตตกก่อนที่คุณจะเป็นโรคซึมเศร้าอย่างแท้จริง 

อาการจิตตกปัญหาใหญ่กว่าที่คุณคิด
อาการจิตตกปัญหาใหญ่กว่าที่คุณคิด

1. วิธีการป้องกัน สภาวะ Languishing

สำหรับผู้มีปัญหาทางด้านสุขภาพ และอาการเหล่านี้หมายถึงอาการที่มองโลกในแง่ลบ ส่วนใหญ่ประมาณ 80% มักจะเป็นกับผู้ที่กำลังเผชิญปัญหากับชีวิตอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านการใช้ชีวิตในปัจจุบันหรือจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ผู้ที่มีปัญหาในลักษณะนี้จะมองโลกกว้างในแง่ลบทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตของตัวเอง วิธีการแก้ไขที่ง่ายที่สุด นั่นก็คือหางานอดิเรกเพื่อมาเปลี่ยนแปลงบรรยากาศ ไม่ว่าจะเป็นงานประดิษฐ์ การเลี้ยงสัตว์หรือตกแต่งต้นไม้ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยทำให้คุณสุขภาพดีขึ้นได้

2. วิธีการป้องกันสภาวะ hurt yourself เนื่องจากความเครียด 

หลายท่านอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับสภาวะฮอร์โมนในร่างกาย และอารมณ์ คือทุกคนสามารถเกิดความเครียดจนถึงขั้นอยากจะทำร้ายตัวเองได้ ส่วนใหญ่ประมาณ 80% ของผู้ที่มีปัญหาในลักษณะนี้นั้นจะเป็นกลุ่มคนที่มีสุขภาพจิตที่แลดูปกติมาก ซึ่งเหล่านั้นจะไม่สามารถสังเกตได้โดยง่าย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเก็บกดแบบลึก เนื่องจากความเครียดถูกกดดันบีบบังคับ วิธีการแก้ไขนั่นก็คือ การพบจิตแพทย์โดยตรง หลังจากนั้นควรจะหาคนพูดคุยเป็นประจำ วิธีนี้จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะว่าการระบาย และการสื่อสารจะเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ได้ผลดี 100% 

อาการจิตตกปัญหาใหญ่กว่าที่คุณคิด
อาการจิตตกปัญหาใหญ่กว่าที่คุณคิด

3. วิธีการป้องกันสภาวะ high stress

high stress อาการนี้ทางการแพทย์เรียกว่าความเครียดสะสม ซึ่งเป็นอาการที่คนไทยส่วนใหญ่ตอนนี้พบเจอกันเยอะมาก และทำให้ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นทางด้านนาฬิกาชีวิต หรือจะเป็นการใช้ชีวิตโดยรวมวิธีการแก้ไขปัญหานี้ นั่นก็คือ คุณควรพยายามตั้งสมาธิ และปฏิเสธเรื่องราวทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นภายนอกไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดี เรื่องที่เลวร้ายก็ตาม ด้วยวิธีนี้จะสามารถทำให้วงจรความเครียดของคุณนั้นลดลงได้ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องพึ่งยาหรือปรึกษาแพทย์แต่อย่างใด และจะเป็นวิธีการป้องกันปัญหาโรคซึมเศร้าในอนาคตที่ได้ผลดีอีกด้วย 

อาการจิตตกปัญหาใหญ่กว่าที่คุณคิด
อาการจิตตกปัญหาใหญ่กว่าที่คุณคิด

สรุป 

ความเครียดอาการจิตตกปัญหาสุขภาพ และความเป็นความตายทางด้านธุรกิจปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวที่สามารถทำ ให้หลายคนเป็นเพียงแค่โรคจิตตกได้ แต่ถ้าหากคุณรู้จักวิธีการรับมือ คุณก็สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้เช่นเดียวกัน หวังว่าจะสามารถช่วยเหลือทุกคนได้ใน ณ ตอนนี้ ขอให้ทุกคนโชคดี และผ่านพ้นเรื่องเหล่านี้ไปด้วยกัน 

ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com

FB : Beauthy healthy

Categories
good health

วิธีแก้ไขสุขภาพจิต

4 วิธีแก้ไขสุขภาพจิต เคล็ดลับแบบง่ายเริ่มต้นได้ที่บ้าน 

ในช่วงนี้ทุก ๆ คนน่าจะสูญเสียพลังทางด้านความรู้สึกในแง่บวกกันอย่างแน่นอน เพราะส่วนใหญ่นั้นมีแต่คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเชื้อไวรัส covid 19 แต่คุณเชื่อไหมว่ายังมีอีกโลกหนึ่งที่คนไทยกำลังพบเจอกันเป็นจำนวนมาก คือ สุขภาพจิต และความเครียด ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้สะสมอยู่ในความรู้สึกของทุกคนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ที่บ้าน และไม่สามารถออกไปไหนได้ เราจึงอยากจะแนะนำให้คุณรู้จักกับวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยตัวคุณเองแบบง่าย ๆ เริ่มต้นได้ที่บ้าน

วิธีแก้ไขสุขภาพจิต เคล็ดลับแบบง่าย
วิธีแก้ไขสุขภาพจิต เคล็ดลับแบบง่าย

1. การคลายความเครียดด้วยการออกกำลังกาย 

วิธีนี้ได้ผลดีมากสำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวเองนั้นหดหู่เศร้าหมอง และไม่ค่อยอยากจะทำอะไรในปัจจุบัน อยากแนะนำให้คุณนั้นพยายามออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค ภายในบ้านหรือหาอุปกรณ์แบบง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นผ้าขนหนู ขวดน้ำหรือว่าจะเป็นหนังสือเล่มใหญ่ ๆ ก็สามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายเป็นอย่างมาก ลดความเครียดได้ และยังทำให้คุณนั้นมีสุขภาพดีได้ง่าย ๆ โดยที่คุณไม่จำเป็นจะต้องออกไปออกกำลังกายภายนอก 

วิธีแก้ไขสุขภาพจิต เคล็ดลับแบบง่าย
วิธีแก้ไขสุขภาพจิต เคล็ดลับแบบง่าย

2. เปลี่ยนแปลงบรรยากาศของห้องและบ้านของคุณให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น 

สำหรับช่วงเวลาที่คุณรู้สึกเครียดหรือเบื่อที่คุณจะต้องใช้ชีวิตอยู่บ้าน ขอแนะนำให้คุณจัดแจงพื้นที่บ้านใหม่ ไม่ว่าจะเป็นมุมห้องที่ตกแต่งแล้วดูดีมีสไตล์ หรือจะเป็นการเคลื่อนที่ของเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านที่ทำให้คุณรู้สึกได้ว่าบ้านของคุณนั้นมีการเปลี่ยนแปลง และองค์ประกอบให้เหมือนเดิมจะทำให้คุณผ่อนคลายได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ชาวต่างชาตินิยมใช้เป็นอย่างมาก เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศรอบตัวสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้า และวิธีนี้ก็สามารถช่วยทำให้คุณนั้นผ่อนคลายได้เช่นเดียวกัน 

วิธีแก้ไขสุขภาพจิต เคล็ดลับแบบง่าย
วิธีแก้ไขสุขภาพจิต เคล็ดลับแบบง่าย

3. พยายามเปิดเมนูอาหารทำเอง 

การทำอาหารก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้ผลดีสำหรับการผ่อนคลายสุขภาพจิตใจของตัวเอง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดสะสมเมื่อเวลาเราอยู่บ้านเป็นเวลานาน ๆ แล้วไม่ได้ออกไปไหนเลย คุณก็สามารถใช้วิธีนี้ได้จะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนอาหารจานเด่นของคุณให้กลายเป็นรสชาติที่แปลกใหม่ จะมีประโยชน์มากกับคนขี้เบื่อ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเพิ่มสีสันในชีวิตประจำวันคุณได้รับรองได้งานนี้คุณคงจะไม่บ่นกับเรื่องอาหารที่ซ้ำซากจำเจอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นขอแนะนำให้คุณหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมนะเมนูเพียบเลย 

วิธีแก้ไขสุขภาพจิต เคล็ดลับแบบง่าย
วิธีแก้ไขสุขภาพจิต เคล็ดลับแบบง่าย

4. หาทางพูดคุย และทางระบายความรู้สึก 

นี่อาจจะเป็นวิธีการสุดท้ายที่อยากจะแนะนำ แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ สำหรับคนที่มีสุขภาพจิตย่ำแย่ และต้องการระบายความเครียดออกมา การที่เราได้เล่าให้ใครสักคนหนึ่งฟังในสิ่งที่เรารู้สึกไม่ดีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ก็ได้ผลดีมากที่สุดที่สามารถช่วยลดความเครียดได้อย่างทันท่วงที ขอแนะนำให้คุณพูดคุยกับเพื่อนสนิทหรือถ้าหากไม่มีก็สามารถติดต่อทางด้านทีมแพทย์โดยตรงได้ที่กรมสุขภาพจิตก็จะสามารถช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายได้มากเช่นเดียวกัน 

สรุป 

การดูแลสุขภาพจิตของตัวเองหรือคนที่คุณรักอยู่ในครอบครัวในช่วงเวลาที่โรคระบาด covid-19 กำลังคุกคามเข้ามาในชีวิตของคนไทย อยากแนะนำให้คุณนั้นดูแล และใส่ใจสุขภาพ แน่นอนไม่ว่าจะเป็นสุขภาพร่างกายแต่คุณก็ไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพจิตเช่นเดียวกัน หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลายขึ้นมาบ้าง กับโรคระบาดครั้งนี้ขอให้ทุกคนโชคดี 

ติดตามบทวคาม good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com

FB : Beauthy healthy

Categories
good health

เคล็ดลับการจัดการ ความเครียด

เคล็ดลับการจัดการ ความเครียดในชีวิตประจำวัน ที่ใช้แล้วได้ผลทันที

ปัญหาเกี่ยวกับทางด้านชีวิต และความเครียดสะสม สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่อย่างแน่นอน ซึ่งบอกได้เลยว่าร้ายแรงไม่ต่างอะไรกับโรคระบาด covid-19 ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน หลายคนที่ใช้ชีวิตอยู่ทุกวันนี้ก็คงจะเต็มไปด้วยเรื่องที่ไม่คาดคิด และหาทางออกให้กับชีวิตได้ยากแต่อย่างไรก็ตามเรามีวิธีการทำให้คุณนั้นลดอาการปวดหัว หรือทำให้คุณคลายความเครียดลงได้ ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นวิธีการของกรมสุขภาพจิตโดยตรง ได้นำมาทดลองใช้กับกลุ่มคนหลากหลายรูปแบบ ได้ผลดีจึงได้นำข้อมูลแบบนี้มาฝากกัน 

เคล็ดลับการจัดการ ความเครียดในชีวิต
เคล็ดลับการจัดการ ความเครียดในชีวิต

1. พยายามเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเอง มองในแง่มุมที่ดีเข้าไว้ 

จุดเปลี่ยนเริ่มต้น และเห็นผลจริง คือพยายามมองมุมใหม่ ๆ กลับจุดที่ตัวเองยืนอยู่ แน่นอนว่าเรื่องที่คุณกำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นเรื่องที่ซีเรียสมาก และบางครั้งอาจจะหาทางออกไม่ได้ อยากให้คุณมองในทางกลับกันเสียใหม่ คุณอาจจะดีกว่าบุคคลหลายคนที่ตกต่ำกว่า และคุณยังมีโอกาสอยู่เวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้คุณก้าวเดินไปข้างหน้าได้ เป็นวิธีการคิดที่อยากจะแนะนำ 

เคล็ดลับการจัดการ ความเครียดในชีวิต
เคล็ดลับการจัดการ ความเครียดในชีวิต

2. พยายามหากิจกรรมทำตลอดเวลา เพื่อลดความเครียด 

ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือการทำความสะอาดบ้านรวมไปถึงการมองหาข้อมูลใหม่ ๆ สิ่งเหล่านี้ 

สามารถช่วยทำให้คุณลดความเครียดได้เป็นอย่างดี วิธีการลดความเครียดในลักษณะนี้ในต่างประเทศนิยมให้ใช้เป็นอย่างมาก จะสามารถทำให้คุณนั้นมีสติมาจริง ๆ และมุมมองของคุณจะกว้างมากกว่าเดิม ซึ่งคุณนั้นสามารถหาทางออกจากปัญหาของคุณได้อย่างแน่นอน ถ้าหากคุณใช้วิธีนี้อย่างถูกต้อง รับรองได้เลยว่าปัญหาใหญ่ ๆ ก็จะกลายเป็นปัญหาเล็ก ๆ เลยทันที 

เคล็ดลับการจัดการ ความเครียดในชีวิต
เคล็ดลับการจัดการ ความเครียดในชีวิต

3. พยายามมีสตินั่งสมาธิ และอยู่กับลมหายใจ 

สำหรับช่วงเวลาของ covid-19 คุณไม่สามารถออกไปเที่ยวชมนก ชมสวน หรือไปทะเลได้ ขอแนะนำให้คุณนั้น ตั้งสติตั้งใจ พยายามนั่งสมาธิแล้วอยู่กับลมหายใจให้ได้ วิธีนี้หลายคนอาจจะคิดว่าจะช่วยได้จริงเหรอกับการพึ่งพาทางด้านสติเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ สิ่งนี้จะมีประโยชน์ต่อเมื่อคุณนั้นไม่คิดฟุ้งซ่าน 

จะทำให้คุณนั้นมองเห็นตัวตนของตัวเองที่เป็นอยู่ และสามารถคิดทบทวน ถึงต้นเหตุของปัญหา และสามารถหาจุดเชื่อมโยงกับวิธีการแก้ได้ง่ายมากกว่าเดิม ซึ่งบอกเลยว่าจะมีประโยชน์กับคุณมากเลยทีเดียว 

การใช้ชีวิตอย่างมีสติ และการบรรเทาความเครียดที่สะสม ในช่วงวิกฤตโควิด 19 หวังว่าทุกคนนั้นตั้งสติก่อนที่จะคิดทำอะไรได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และถ้าหากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่เผชิญปัญหาอยู่ หรือคุณอาจจะพบเจอคนที่มีปัญหาเช่นนี้อยู่ อยากให้คุณแบ่งปันเรื่องราวเหล่านี้ให้กับทุกคนได้รู้จักกัน จะทำให้โอกาสดี ๆ ได้ส่งต่อให้กับทุกคนอย่างแน่นอน 

ติดตามบทวคาม good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com

FB : Beauthy healthy

Categories
good health

“โรคกลัวความรัก” กับวิธีดูแลดูแลตัวเอง

คนบางคนที่ครองความโสดอย่างเหนียวแน่นมายาวนาน ราวกับกลัวใครมาแย่งตำแหน่งนางงามคานทองไป โสดตั้งแต่เกิด โสดสนิท โสดจนเพื่อนๆ ที่คบกันมานานเปลี่ยนแฟนกันไปกี่คนแล้วก็ไม่รู้ เพื่อนบางคนก็เริ่มทยอยแต่งงาน ทยอยมีลูก แต่บางคนก็ยัง…โสด!!!

ถึงอย่างนั้น ทุกวันนี้บางคนก็ใช้ชีวิตอย่างราบรื่นดีนะ ไม่ได้กระตือรือร้นที่จะไขว่คว้าหาความรักแต่อย่างใด ไม่ได้ไปเรียกร้องกับใครที่ไหนว่าทำไมยังโสด หรือเรียกได้ว่าไม่อยากเอาตัวไปเฉียดกับความรักเลยดีกว่า ถ้าบอกว่าเกิดมาไม่เคยเจอคนที่รู้สึกถูกใจหรือเข้ามาจีบเลย แต่คนบางคนมีปมเจอเหตุการณ์รักไม่สมหวัง รักที่ทรยศหรือทะเลาะเบาะแว้งอย่างรุนแรงกันคนรัก ได้รับข่าวร้าย เช่น การจากไปของคนที่ตนรัก ความเครียดสะสมเป็นเวลานานหลายปี จนทำให้กลัว “ความรัก” จน “ไม่กล้ารักใคร

เอาล่ะ…เรามารู้จักกับโรคกลัวความรักกันเถอะ โรคกลัวการตกหลุมรัก เรียกได้อีกชื่อว่า “โรคกลัวความรัก” (Philophobia)มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ “Philo” แปลว่า ความรัก และคำว่า “Phobia” ที่แปลว่า ความกลัว เป็นโรคในกลุ่ม Phobia โรคกลัวการตกหลุมรัก

เป็นสภาวะที่กลัวการตกหลุมรัก กลัวการได้รับความรัก และปฏิเสธความรู้สึกพิเศษที่มีกับบางคน ซึ่งการตกหลุมรัก หรือการสร้างความสัมพันธ์ จะทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกไม่สบายใจ และเลือกที่จะวิ่งหนีความรัก หลีกเลี่ยงโอกาสที่จะทำให้ตกหลุมรัก หรือหลีกเลี่ยงการไปสถานที่ต่าง ๆ ที่มีคนรัก เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคกลัวความรักจะรู้สึกกลัวการตกหลุมรักหรือไม่กล้ามีความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับผู้อื่นโดยไม่ทราบสาเหตุ และอาการอาจมีความรุนแรงถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

ซึ่งความกลัวที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลต่อทั้งร่างกายและอารมณ์ แม้ตัวผู้ป่วยเองก็ตระหนักได้ว่าความกลัวที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถควบคุมความกลัวดังกล่าวได้อยู่ดี

โดยเมื่อนึกถึงการตกหลุมรักก็อาจรู้สึกกลัวขึ้นมาอย่างรุนแรงจนมีภาวะตื่นกลัว และอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า มีเหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก ไม่สามารถทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ตามปกติ คลื่นไส้ เป็นต้น

สาเหตุของโรค Philophobia

  • เหตุการณ์ในแง่ลบที่ฝังใจมาตั้งแต่เด็ก
  • วัฒนธรรม หรือศาสนา ที่มีข้อห้ามเกี่ยวกับความรัก ศาสนาหรือขนบประเพณีของบางแห่ง
  • การล้มเหลวในความรักซ้ำๆ มีรักเมื่อไหร่ก็ต้องเจ็บปวดและเลิกรากันไปทุกที
  • รู้สึกว่าตัวเองหดหู่ เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกลัวความรักที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ผู้ป่วยที่มีอาการกลัวอย่างมากจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา เพราะหากปล่อยไว้อาจเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม มีภาวะซึมเศร้าหรือภาวะวิตกกังวลได้ บางรายก็อาจเครียดจนหันไปพึ่งพาแอลกอฮอล์และยาเสพติด หรืออาจถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตายเพื่อจบปัญหา

การรักษาโรคกลัวการตกหลุมรัก

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต : การทำกิจกรรมเพื่อคลายเครียด อาจช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย และสบายใจยิ่งขึ้น เช่น ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ฝึกการหายใจ เป็นต้น
  • การบำบัดให้หายจากความกลัว : จิตแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้การรับมือกับความกลัวที่เกิดขึ้นด้วยการพูดคุย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความคิด แนะนำให้เริ่มสร้างความสัมพันธ์จากจุดเล็กๆ น้อยๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือแนะนำให้เริ่มจากการสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนและคนใกล้ชิด
  • การใช้ยา : หากผู้ป่วยมีความผิดปกติทางจิตชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาต้านซึมเศร้า หรือยาคลายความวิตกกังวล ควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยการพูดคุย

ทั้งนี้หากเกิดจากประสบการณ์ในอดีต หมอจะให้คำแนะนำเพื่อการปรับตัว และสร้างความมั่นใจให้สามารถใช้ชีวิตปกติร่วมกับผู้อื่นได้เพื่อขจัดความกลัวไปทีละน้อยอีกด้วย

ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com

Categories
good health

“โรคหลายอัตลักษณ์…”ที่คุณควรรู้ไว้ก็ไม่เสียหายหรอกนะ

“โรคหลายอัตลักษณ์…” ในสภาพสังคมปัจจุบันมีสถานการณ์ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกที่ทั่วทุกมุมโลกทั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากภายในครอบครัว การทำร้ายร่างกาย การข่มขืน

ทั้งที่ได้รับความช่วยเหลือและไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสังคมหรือกฎหมายที่เข้าไปไม่ถึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การฆ่าตัวตาย การถูกข่มขู่ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือหากกระทบทางจิตใจก็อาจจะก่อให้เกิดโรคทางจิตเวชได้

มาทำความรู้จักกับโรคหลายอัตลักษณ์ หรือที่ในทางการแพทย์จะเรียกว่า “โรคหลายบุคลิก” กันเถอะ ซึ่งโรคหลายบุคลิก หรือที่บางคนเรียกว่าโรค DID (Dissociative Identity Disorder)
หรือ MPD (Multiple Personality Disorder) คือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่ตัวผู้ป่วยจะมีบุคลิกอื่นๆ มากกว่า 2 บุคลิกขึ้นไป
ผลัดเปลี่ยนกันออกมาใช้ชีวิตและแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากบุคลิกเดิมออกมา ประมาณว่าฉันคนนี้มีเธออีกคนในตัว

  • สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลายบุคลิก

เกิดจากสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจิตใจอย่างหนักตั้งแต่สมัยเด็กหรือเจอเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ โดยผ่านการการกระทำอันรุนแรงทั้งทางกายและทางจิตใจทำให้จิตใต้สำนึกสร้างบุคลิกอื่นๆ

ขึ้นมาเพื่อแสดงออกมาในสิ่งที่บุคลิกเดิมไม่สามารถทำได้ ซึ่งตัวผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่รู้สึกตัวเลยว่าแสดงออกอะไรออกมา โดยอาจจะพูดมากขึ้น แต่บางทีบทจะขรึมก็เหมือนเป็นอีกคน

ในขณะเดียวกันอาจจะรุนแรงถึงขั้นทำร้ายคนอื่นโดยไม่มีความรู้สึกผิด และไม่มีความทรงจำของอีกตัวตนในหัวเลย ซึ่งจะวิเคราะห์ความอันตรายของโรคจะค่อนข้างยากกว่า

  • การรักษาผู้ป่วย

ใช้วิธีรักษาโดยการใช้จิตบำบัดหรือที่รู้ในนามการสะกดจิตโดยใช้จิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นหลักในการรักษาโดยการค่อยๆ ให้แต่ละบุคลิกค่อยๆ ระบายเรื่องราวออกมา

และต้องให้คนในครอบครัวของผู้ป่วยทำความเข้าใจและยอมรับในตัวผู้ป่วย ซึ่งจะแนะนำวิธีการบำบัดในกรณีนี้อย่างละเอียดได้ดังนี้

  • การบำบัดโดยจิตแพทย์จะใช้วิธีปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive and Creative Therapies) ซึ่งจะเป็นการจำแนกบุคคลออกมา เพื่อคลายเปาะในใจให้กลับมาสู่ความเป็นจริงในทางปกติมากขึ้น
    แต่การรักษาด้วยจิตบำบัดด้วยวิธีนี้จะต้องใช้ทั้งเวลา ความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่จะช่วยในการรักษาเข้ามาด้วย และจะต้องต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  • ส่วนมากคนที่เป็นโรคหลายอัตลักษณ์จะปฏิเสธการรักษาเนื่องจากขาดการไว้ใจจากจิตแพทย์  และนักจิตวิทยาเข้ามาเกี่ยว และจะไม่ยอมรับว่าตนเองเป็น
    การบำบัดนี้จะได้ผลค่อนข้างช้า แต่จะใช้ความไว้ใจให้รู้สึกปลอดภัย เพื่อให้สามารถเล่าเรื่องราวของตนเองว่าเป็นมายังไง
    เพื่อกะเทาะเปลือกที่ปกปิดในใจคนไข้ให้แยกออกมาชัดเจนแล้วดึงตัวตนความจริงของคนนั้นกลับคืน
  • หากตัวผู้ป่วยไม่อยากให้ญาติรับรู้ว่าตนเองเป็น สามารถปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อรักษาแบบตัวต่อตัวได้ การพบกับแพทย์โดยส่วนตัวย่อมเป็นทางออกที่ดีกว่า หรือไม่ก็เอาคนที่ไว้ใจที่สุดอยู่ข้างๆ ผู้ป่วยให้รู้สึกดี มั่นใจและลดความเครียดในใจลง

เรียกได้ว่าโรคหลายบุคลิกก็ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างมาก เนื่องจากวินิจฉัยยาก และปฏิเสธการรักษา เนื่องจากในสังคมไทยยังมองว่าจิตเวชเป็นเรื่องประหลาด และโอกาสมีบาดแผลในใจจะซ้ำสูง

จึงส่งผลต่อการได้ผลในการรักษาในทางไม่ดี จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจอย่างมาก แต่ทั้งนี้จะต้องต่อเนื่องควบคู่กับการทำจิตบำบัดสม่ำเสมอ

ติดตามบทความ good healthy ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com

Categories
good health

Aphenphosmphobia

การดูแล Aphenphosmphobia ยังไงให้กลับมาใช้ชีวิตปกติ

ความกลัวในสิ่งที่น่ากลัวและกลัวอย่างพอดีจึงจำเป็นและมีประโยชน์ แต่ความกลัวสิ่งของหรือสถานการณ์บางอย่างที่มากเกินไปทั้งที่ไม่น่ากลัวและคนทั่วไปก็ไม่กลัวกัน แต่ก็เกิดความกลัวจนทำให้เป็นทุกข์มาก ทำให้เสียงานเสียการ

และทำให้เกิดพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ในกรณีนี้ถือว่าเป็นโรคกลัว (phobia) ซึ่งจัดเป็นความผิดปกติทางจิตเวชอย่างหนึ่งซึ่งโรคกลัวก็จะหลายประเภท  หลายชนิดที่แยกย่อยออกมาอีก ในที่นี้จะขอยกประเด็นเกี่ยวกับโรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia)

ดูแล Aphenphosmphobia

โรคกลัวการถูกสัมผัส (Aphenphosmphobia) เป็นโรคเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่มีลักษณะกลัวการถูกสัมผัสร่างกาย โดยเฉพาะกับเพศตรงข้ามจะรู้สึกขยะแขยง หรือรังเกียจแบบผิดปกติ หรือคนแปลกหน้าที่ตัวผู้ป่วยไม่ได้รับการยินยอม ทำให้เกิดความไม่สบายใจเมื่อต้องอยู่ในที่คนพลุกพล่าน

สาเหตุของโรคมาจากผู้ป่วยเจอเหตุการณ์สะเทือนจิตใจตั้งแต่เยาว์วัย หรือช่วงวัยกลางคน เช่น การถูกละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรง การทำร้ายร่างกายหรือการถูกกักขัง  หรือมีอดีตที่เลวร้ายจากการถูกดูถูกรูปร่าง เช่น หุ่น สีผิว ทรงผม หรือผลจากโดนกลั่นแกล้งที่รุนแรงในวัยเด็ก ทำให้ส่งผลที่จะเกิดโรคนี้ได้มากขึ้นเช่นกัน

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณโดนสัมผัสร่างกาย

  • รู้สึกกลัว วิตกกังวล และอารมณ์โกรธทันที เมื่อถูกการสัมผัส บางรายอาจจะมีการทำร้ายผู้อื่นเข้ามาด้วย เนื่องจากการถูกเนื้อต้องตัวไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ
  • เมื่อถูกสัมผัสร่างกาย จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น เลือดสูบฉีดแรงขึ้น
  • เหงื่อออก ร่างกายรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ
  • เป็นลม หมดสติกะทันหัน
  • มีความอ่อนไหวในจิตใจสูง และรู้สึกขยะแขยงหากใครเข้าใกล้
ดูแล Aphenphosmphobia

วิธีการรักษาผู้ป่วย

  • การบำบัดด้วยเทคนิค (Cognitive behavioral therapy ; CBT) ที่นักบำบัดจะทำการพูดคุยกับผู้ป่วยในเบื้องต้น และช่วยปรับพฤติกรรม รวมถึงกระบวนการคิดในด้านลบของคุณเมื่อถูกสัมผัส  ให้อยู่ในความรู้สึกที่ปลอดภัย  ปลดล็อกสิ่งที่เป็นปมในใจออกมาได้เร็วขึ้น เนื่องจากคนที่กลัวการถูกสัมผัสมีโอกาสซึมเศร้าได้ง่าย
  • การบำบัดด้วยการให้ผู้ป่วยเผชิญการสัมผัสร่างกาย โดยอาจให้คนแปลกหน้าร่วมการบำบัดสัมผัสร่างกายผู้ป่วย การรักษานี้มักใช้เวลา 1 สัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือนขึ้นอยู่แต่ละบุคคล ประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน และเป็นการรักษาที่ควบคุมโดยนักบำบัดอย่างใกล้ชิด ด้วยสภาพแวดล้อมรอบข้างที่ปลอดภัย
  • ฝึกการหายใจทำจิตใจให้ผ่อนคลาย โดยการออกกำลังกายที่เพิ่มการผ่อนคลายเข้าช่วย เช่น ไท่เก๊ก พิลาทีส โยคะทุกชนิด หรือนั่งสมาธิก็สามารถช่วยผ่อนคลายสิ่งที่อยู่ในจิตใจได้ นอกจากนี้มีการนำการใช้วิธีการหายใจเข้าช่วยโดยการสูดลมหายใจเข้าให้กะบังลมยกตัวขึ้นและกลั้นหายใจเอาไว้ นับ 1-5 อย่างช้าๆ จากนั้นให้หายใจออกโดยให้กะบังลมแฟบลงในลักษณะที่ผ่อนคลายที่สุด โดยให้หายใจเข้าและออกอย่างช้าๆ ทุก 3 วินาที รวมการทำแบบนี้ซ้ำๆ ด้วยการหายใจเข้าและออก ต้องนับเป็นหนึ่งแล้วทำให้ได้ประมาณ 10 ครั้งจนกว่าจะรู้สึกหายใจอิ่ม และทั่วท้องมากยิ่งขึ้น
ดูแล Aphenphosmphobia

โรคนี้ผู้เขียนเชื่อได้ว่าในช่วง COVID-19 มีใครหลายคนกลัวถูกสัมผัสกันมากขึ้นจนวิตกกังวลเกินเหตุ และยังมีหลายคนที่เผชิญกับโรคนี้ การผ่อนคลายทางจิตใจ และการรู้จักคุณค่าตนเอง รวมถึงคนที่รักเรา จะช่วยให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้น และเราสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อย่างมีความสุข และปราศจากความกลัวอีกด้วย

#good health #howto-healthy.com

Categories
good health

ดูแลตัวเองอย่างไรกับ PTSD ภัยร้ายในมุมมืด

ในช่วงที่โลกของเราเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การก่อจลาจล การก่อสงคราม การทำร้ายร่างกายและจิตใจ การทารุณกรรม การถูกข่มขืน กักขัง อยู่ในเหตุการณ์รุนแรง อยู่ในเหตุการณ์ที่มีคนเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา หรืออยู่ในที่ก่อเหตุการณ์ร้ายแรงอื่นๆ อีก

ทำให้เกิดเป็นภาพจำติดลบขึ้นมาภายในจิตใจและสมอง จนกระทบกับจิตใจของผู้คน อย่างที่เราเห็นตามสื่อโซเซียลต่างๆ บางคนก็มีอาการตกใจ วิตกกังวลง่าย บางคนถึงกับขยาด หวาดกลัว ไม่กล้าไปสถานที่ที่เกิดเหตุไปเลย หรือว่าเราจะตกอยู่ในภาวะเครียดซึมเศร้า

PTSD ภัยร้ายในมุมมืด

PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) คือสภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก เช่น ภัยพิบัติ อุทกภัย แผ่นดินไหว การก่อการจลาจล การฆาตกรรม สงคราม การปล้นฆ่า ข่มขืน เป็นต้น

ซึ่งคนที่เผชิญอยู่กับเหตุการณ์นั้นๆ รอดชีวิตมาได้ หรือว่าเป็นผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในเหตุการณ์นั้นๆ ทำให้เกิดมีความเครียดทางด้านจิตใจชนิดรุนแรงมาก จนทุกข์ทรมาน ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ ตามมา

สาเหตุการเกิด PTSD หากจะกล่าวถึงการป้องกันภาวะดังกล่าวคงไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นภาวะที่มีต้นเหตุมาจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้นเมื่อเราผ่านเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรู้สึกของเราอย่างรุนแรงเราจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและขอคำปรึกษา พูดคุยกับผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของเราได้ หากิจกรรมเพื่อบรรเทาความเครียด เป็นต้น ยิ่งเราเข้ากระบวนการรักษาเร็วเราก็มีโอกาสเป็นภาวะ PTSD น้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง

PTSD ภัยร้ายในมุมมืด

อาการที่สังเกตได้

  • เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้นตามมาหลอกหลอนอยู่บ่อยๆ ผุดขึ้นมาซ้ำๆ หรือฝันเห็นบ่อยครั้ง
  • อาการ Flash Back คือ เกิดความตื่นตัว เห็นเหตุการณ์นั้นๆ กำลังจะเกิดขึ้นกับเรา ควบคุมไม่ได้ เกิด อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว ซึ่งเดิมไม่เคยเกิดขึ้น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ตกใจง่าย ใจสั่น ความดันโลหิตสูง ไม่มีสมาธิ เครียดได้กับสิ่งต่างๆ รอบตัว พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะส่งผลทำให้กระทบกระเทือนต่อจิตใจ เช่น ภาพข่าวเหตุการณ์ การพูดถึงจากบุคคลอื่น
  • มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในเชิงลบ รู้สึกว่าชีวิตตัวเองหม่นหมอง ทั้งตัวเองและสิ่งรอบข้าง คิดว่าตัวเองคงไม่มี  ความสุขได้อีกต่อไปแล้ว ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบหรือเคยทำมาก่อนอีกแล้ว ทำให้อาจคิดฆ่าตัวตาย หรือพึ่งสารเสพติดต่างๆ เพื่อต้องการให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น แต่จริงๆ แล้วอาจจะทำให้เกิดผลร้ายแรงยิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว
PTSD ภัยร้ายในมุมมืด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรค PTSD

เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย และทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตรวมถึงด้านอารมณ์ไปด้วย โดยสามารถนำพาไปสู่โรคภาวะทางจิตและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย ได้แก่

  • โรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้น
  • พฤติกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การหันมาใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืออาจทำร้ายตนเอง เป็นต้น
  • อาการทางร่างกาย เช่น มีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดหน้าอก เป็นต้น
PTSD ภัยร้ายในมุมมืด

การรักษาภาวะ PTSD

การรักษาภาวะดังกล่าวมีด้วยกันหลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการดูแลจากคนรอบข้างประกอบด้วย โดยมีวิธีรักษาดังนี้

  • เรียนรู้และรับมือ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวต้องพยายามเรียนรู้การจัดการกับความเครียด เช่น หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย การออกไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เป็นต้น
  • ดูแลตนเองมากขึ้น ไม่ควรบริโภคของที่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เสพสารเสพติด และเพิ่มเวลาในการพักผ่อนให้มากขึ้นกว่าเดิม
  • การรับยาจากแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาที่สามารถลดความเครียดหรือช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ทั้งนี้การใช้ยาต่างๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
  • การบำบัด สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาเพื่อปรับให้สามารถค่อยๆ ปรับเปลี่ยนความคิดได้ หรือเลือกที่จะเผชิญกับสิ่งที่เรากลัวและเรียนรู้วิธีการรับมือที่ถูกต้องแต่วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การได้รับการดูแลพูดคุยหรือสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันก็สามารถบำบัดได้เช่นกัน

#สุขภาพ #จิตวิทยา #วิธีดูแลสุขภาพ #PTSD #good health #howto-healthy.com