หากเข้าสังคมแล้ว “กลัว”
ปัจจัยการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบันมีมากมายหลายแบบ มีสื่อในช่องทางโซเชียลมีเดียมากมายให้เลือก เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนมากโข แต่สิ่งที่ยังไม่หายไปคืออุปสรรคต่อการใช้ชีวิตคืออาการขี้อาย ประหม่า เขอะเขินเวลาเจอผู้คน เวลาทำงาน เวลาต้องการแสดงออกอะไรบางอย่าง แต่ถ้าอาการเหล่านั้นกลายเป็นความหวาดกลัวต่อสิ่งที่ตัวเองกำลังกระทำอยู่ล่ะ เช่นบางคนประหม่าเวลาออกไปนำเสนองาน หรือการเต้นบนเวที หรือการตอบคำถาม ปัญหาในสังคม

ภัยร้ายที่ก่อให้เกิดอาการเหล่านี้มีหลายอย่าง อาทิ การกลั่นแกล้งกัน การพูดจาดูถูก การบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ได้ต้องการจะทำ การรวบรวมความกล้าในการตอบคำถามเมื่อคุณครูถามแต่พอตอบผิดหรือตอบใกล้เคียงกับคำตอบที่ถูกต้องแล้วเจอครูต่อว่าอย่างรุนแรงทำให้เกิดปมสะสม หรือที่หนักสุดคือการที่รับรู้ข่าวร้ายเกี่ยวกับคนใกล้ตัวหรือต่อตนเอง ปัญหาเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคกลัวการเข้าหาสังคมหรือโรคกังวลต่อการเข้าหาสังคม
โรคกลัวสังคมหรือที่เรียกว่า Social anxiety disorder คือ การที่ผู้ป่วยมีอาการประหม่า รู้สึกไม่สบายใจ อึดอัด กังวลใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่อาจมีผู้อื่นสังเกตจ้องมองตนเอง เช่น การพูดคุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย การทำกิจกรรมในที่สาธารณะ หรือนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เป็นต้น โดยมีอาการแสดงคือเมื่ออยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว มักใจสั่น มือสั่น เสียงสั่น เหงื่อออกมาก อันเกิดจากความตื่นเต้นและความกังวลที่เกิดขึ้นในจิตใจ ทั้งนี้ความตื่นเต้นที่เกิดขึ้น บางครั้งเป็นเรื่องธรรมดา ที่ทุกคนสามารถเจอได้ ไม่เฉพาะกับผู้ป่วยด้วยโรคกลัวสังคมเท่านั้น ความตื่นเต้นธรรมดามักเกิดเป็นครั้งคราว แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวสังคม จะมีอาการทุกครั้งที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นอาการ
สาเหตุของการเกิดโรคกลัวสังคมที่พบบ่อยคือ บุคคลที่ป่วยด้วยโรคนี้มักเคยเจอกับสถานการณ์บางอย่างที่ทำให้รู้สึกแย่ จนกลายเป็นความฝังใจ ความกังวลในบางสถานการณ์เป็นความรู้สึกโดยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน อย่างความรู้สึกตื่นเต้นหรือประหม่าเมื่อต้องนำเสนองานหน้าชั้นเรียนหรือในที่ประชุม แต่โรคกลัวการเข้าสังคมจะแตกต่างจากความกังวลหรือความอายทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยจะรู้สึกกลัวหรือกังวลทุกครั้งที่ต้องทำกิจกรรมหรือเข้าสังคมพบปะผู้อื่น ทำให้ความวิตกกังวลเกิดขึ้นในระยะยาวจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคมแต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งอาการได้เป็นสองกลุ่ม ดังนี้

อาการทางร่างกาย
สัญญาณหรืออาการที่แสดงออกทางร่างกายของผู้ที่มีอาการกลัวการเข้าสังคม ได้แก่ หน้าแดง รู้สึกมวนท้อง คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก ตัวสั่น พูดติดขัด คิดอะไรไม่ออก เวียนศีรษะ หน้ามืด หายใจไม่ทัน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
อาการทางจิตใจและพฤติกรรม
ผู้ที่มีโรคกลัวการเข้าสังคมอาจมีอาการทางจิตใจ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออก ดังนี้
- วิตกกังวลอย่างรุนแรงเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ทางสังคม เช่น การพูดคุยกับคนแปลกหน้า การเข้าร่วมงานเลี้ยง หรือแม้แต่การสบตากับผู้อื่น
- กังวลล่วงหน้าหลายวันหรือหลายสัปดาห์แม้เหตุการณ์จะยังไม่เกิดขึ้น หรือกังวลว่าจะเกิดความผิดพลาดซ้ำเหมือนในอดีต กังวลว่าตนเองจะทำเรื่องน่าอายต่อหน้าผู้อื่น และจะถูกผู้อื่นตัดสิน เยาะเย้ย หรือถากถาง กังวลว่าผู้อื่นจะสังเกตเห็นความเครียดหรือความกังวลของตนเอง เช่น หน้าแดง มือสั่น หรือพูดติดขัด หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานการณ์ทางสังคม หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจพยายามทำตัวกลมกลืนไปและไม่ให้เป็นจุดสนใจของผู้อื่น
- พึ่งพาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ทางสังคม ขาดเรียนหรือขาดงาน
สาเหตุของโรคกลัวสังคม

โรคกลัวสังคมอาจคล้ายกับภาวะความผิดปกติทางจิตใจอื่นๆ โดยสาเหตุเกิดจากปัจจัยภายในของแต่ละบุคคลรวมกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ดังนี้
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม แม้จะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าหากคนในครอบครัวมีประวัติของโรควิตกกังวลมาก่อน อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดโรควิตกกังวลได้สูงขึ้น
- ความผิดปกติของโครงสร้างของสมองส่วนอะมิกดาลา (Amygdala) ซึ่งทำหน้าที่ตอบสนองต่อความกลัว เมื่อสมองถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวผิดปกติ อาจทำให้บุคคลนั้นตอบสนองต่อความกลัวสังคมด้วยความเครียดและวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
- สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู โรคกลัวการเข้าสังคมอาจเกิดจากพฤติกรรมการเรียนรู้หลังเผชิญเหตุการณ์ที่น่าอาย หรือเรียนรู้พฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง เด็กที่เคยถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรง เช่น ถูกดุด่า มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือถูกเพื่อนรังแก อาจทำให้รู้สึกหวาดกลัวเมื่อต้องเข้าสังคม
- นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคกลัวสังคม ได้แก่ ความกดดันจากการทำงานหรือการเข้าสังคมใหม่ เด็กที่มีลักษณะนิสัยขี้อาย เก็บตัวหรือแยกตัวออกจากผู้อื่น รวมถึงความผิดปกติทางร่างกาย เช่น พูดติดอ่าง มีอาการสั่นจากโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) หรือใบหน้าเสียโฉม อาจเกิดความรู้สึกกังวลและกลัวที่จะเข้าสังคมได้
- ผลกระทบกับชีวิตการงาน และการเรียน เช่น ไม่กล้าไปสัมภาษณ์งาน ไม่กล้าแสดงออกในที่ประชุม หรือหน้าชั้นเรียน มีปัญหากับการติดต่อประสานงานกับหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน ลังเลที่จะตัดสินใจรับตำแหน่ง หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่มีความสุขและประสิทธิภาพในการทำงาน
- ผลกระทบกับความสัมพันธ์ มีปัญหาในการสานสัมพันธ์ รูปแบบเพื่อนหรือคนรัก คบไม่ได้นาน ไม่กล้าเปิดใจรับใครเข้ามา ไม่กล้าแชร์ความคิดเห็นร่วมกับบุคคลอื่น
- ผลกระทบกับชีวิตประจำวัน เสียโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทำให้ไม่ได้พัฒนาตนเองอย่างที่ควรพลาดโอกาสดีๆ ในชีวิต ขังตัวเองอยู่ในโลกส่วนตัว กลายเป็นคนโลกแคบได้
การรักษาโรคกลัวการเข้าหาสังคม

คำแนะนำในการช่วยเหลือสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง
- สร้างโอกาสให้บุตรหลานของท่านได้ “ทดลอง” กับสังคมที่หลากหลาย อย่างเล่นกับเพื่อนๆ กลุ่ม ต่างๆ ไปงาน วันเกิด เพื่อนๆ ญาติๆ เข้ากิจกรรมโรงเรียนแต่ไม่ควรผลักดันลูกไปเข้าสถานการณ์ใหญ่ๆ ยากๆ ในทั้งที่ตั้งแต่เริ่มต้น อย่างประกวดร้องเพลง แข่งพูดโต้วาที เป็นต้น เพราะเด็กอาจล้มเหลวได้รับแต่ประสบการณ์ที่แย่แทนที่จะรู้สึกว่าทำได้
- เวลาเห็นลูกทำท่าอึดอัดหรือตอบคนอื่นช้าอย่า “พูดแทน” ลูก เช่น เวลาสั่งอาหารช้า ก็สั่งให้หรือแย่งตอบคำถาม ที่ผู้ใหญ่คนอื่น ถามให้แทน จูงใจให้รางวัลหากลูกกล้าพูด ทำตัวเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นในสถานการณ์สังคมต่างๆ ว่าควรวางตัวอย่างไร
- กรุณาอย่าทำท่าทางเหนื่อยหน่าย “เบื่อ” หรือโมโห หากลูกไม่สามารถแสดงออกได้ดังใจของท่าน (จริงๆ เขาก็ ผิดหวังตัวเองอยู่เยอะแล้ว) ควรแสดงความเข้าใจเขา และให้กำลังใจแนะนำให้ลองครั้งต่อไป
สำหรับคุณครู
- ลองเปลี่ยนบรรยากาศกฎเกณฑ์ให้ลูกศิษย์ที่กลัวการเข้าสังคมของคุณ ซึ่งอาจจะ “ช้า” หรือ “ลังเล” ให้มีโอกาส ได้แสดงออกบ้าง ไม่ใช่เน้นแต่ “ความเร็ว” หรือ “ความเด่น”
- คุยกับเขาว่า เราพยายามสร้างโอกาสให้เขาได้แสดงออก ไม่ใช่ “แกล้ง” ทำให้เขาได้อาย
- แนะนำเขาว่าการได้พูดตอบแค่ “เบาๆ” ในห้องก็เพียงพอแล้วสำหรับการมีส่วนร่วมในช่วงแรกๆเขาจะรู้สึกว่าการมี ส่วนร่วมนั้น “ง่าย” ขึ้นเรื่อยๆ ในครั้งถัดมา
- อย่าระดมถามแต่เด็กที่กำลังฝึกคนนี้อยู่คนเดียว ควรกระจายถามเด็กคนอื่นๆ ให้เสมอๆ กันอย่างเป็นธรรมชาติ
- การรักษาโดยจิตแพทย์
- พฤติกรรมบำบัด โดยมักให้เด็กได้ค่อยๆ เผชิญกับสถานการณ์ที่เด็กกลัวหรือตื่นเต้นอยู่ทีละน้อยให้เด็กได้พิสูจน์ “ว่าสิ่งที่เขาคิดกลัวอยู่นั้นเป็นจริงหรือ” อย่าง “ทุกคนต้องหัวเราะเยาะฉันแน่แค่ฉันพูดคำแรก” หรือ การฝึกสอนเด็กให้ รู้จักการเริ่มต้นการสนทนา หัดผ่อนคลายความเครียด ความกลัวของตนเองลง
- การให้ยาที่ลดความกังวลและความตื่นกลัวของเด็ก ซึ่งมียาหลายชนิดที่ได้ผลดีโดยมิได้ทำให้เกิดการติดยา ง่วงซึมหรือทำลายสมองเด็กอย่างที่เคยเข้าใจคลาดเคลื่อนกัน ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็กถึงทางเลือกของการรักษา

ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com
FB : Beauthy-healthy