“โรคหลายอัตลักษณ์…”ที่คุณควรรู้ไว้ก็ไม่เสียหายหรอกนะ

“โรคหลายอัตลักษณ์…”ที่คุณควรรู้ไว้ก็ไม่เสียหายหรอกนะ

โรคหลายอัตลักษณ์...ที่คุณควรรู้ไว้ก็ไม่เสียหายหรอกนะ

“โรคหลายอัตลักษณ์…” ในสภาพสังคมปัจจุบันมีสถานการณ์ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกที่ทั่วทุกมุมโลกทั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากภายในครอบครัว การทำร้ายร่างกาย การข่มขืน

ทั้งที่ได้รับความช่วยเหลือและไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสังคมหรือกฎหมายที่เข้าไปไม่ถึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การฆ่าตัวตาย การถูกข่มขู่ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ หรือหากกระทบทางจิตใจก็อาจจะก่อให้เกิดโรคทางจิตเวชได้

มาทำความรู้จักกับโรคหลายอัตลักษณ์ หรือที่ในทางการแพทย์จะเรียกว่า “โรคหลายบุคลิก” กันเถอะ ซึ่งโรคหลายบุคลิก หรือที่บางคนเรียกว่าโรค DID (Dissociative Identity Disorder)
หรือ MPD (Multiple Personality Disorder) คือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่ตัวผู้ป่วยจะมีบุคลิกอื่นๆ มากกว่า 2 บุคลิกขึ้นไป
ผลัดเปลี่ยนกันออกมาใช้ชีวิตและแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากบุคลิกเดิมออกมา ประมาณว่าฉันคนนี้มีเธออีกคนในตัว

  • สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลายบุคลิก

เกิดจากสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจิตใจอย่างหนักตั้งแต่สมัยเด็กหรือเจอเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ โดยผ่านการการกระทำอันรุนแรงทั้งทางกายและทางจิตใจทำให้จิตใต้สำนึกสร้างบุคลิกอื่นๆ

ขึ้นมาเพื่อแสดงออกมาในสิ่งที่บุคลิกเดิมไม่สามารถทำได้ ซึ่งตัวผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่รู้สึกตัวเลยว่าแสดงออกอะไรออกมา โดยอาจจะพูดมากขึ้น แต่บางทีบทจะขรึมก็เหมือนเป็นอีกคน

ในขณะเดียวกันอาจจะรุนแรงถึงขั้นทำร้ายคนอื่นโดยไม่มีความรู้สึกผิด และไม่มีความทรงจำของอีกตัวตนในหัวเลย ซึ่งจะวิเคราะห์ความอันตรายของโรคจะค่อนข้างยากกว่า

  • การรักษาผู้ป่วย

ใช้วิธีรักษาโดยการใช้จิตบำบัดหรือที่รู้ในนามการสะกดจิตโดยใช้จิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นหลักในการรักษาโดยการค่อยๆ ให้แต่ละบุคลิกค่อยๆ ระบายเรื่องราวออกมา

และต้องให้คนในครอบครัวของผู้ป่วยทำความเข้าใจและยอมรับในตัวผู้ป่วย ซึ่งจะแนะนำวิธีการบำบัดในกรณีนี้อย่างละเอียดได้ดังนี้

  • การบำบัดโดยจิตแพทย์จะใช้วิธีปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive and Creative Therapies) ซึ่งจะเป็นการจำแนกบุคคลออกมา เพื่อคลายเปาะในใจให้กลับมาสู่ความเป็นจริงในทางปกติมากขึ้น
    แต่การรักษาด้วยจิตบำบัดด้วยวิธีนี้จะต้องใช้ทั้งเวลา ความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่จะช่วยในการรักษาเข้ามาด้วย และจะต้องต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  • ส่วนมากคนที่เป็นโรคหลายอัตลักษณ์จะปฏิเสธการรักษาเนื่องจากขาดการไว้ใจจากจิตแพทย์  และนักจิตวิทยาเข้ามาเกี่ยว และจะไม่ยอมรับว่าตนเองเป็น
    การบำบัดนี้จะได้ผลค่อนข้างช้า แต่จะใช้ความไว้ใจให้รู้สึกปลอดภัย เพื่อให้สามารถเล่าเรื่องราวของตนเองว่าเป็นมายังไง
    เพื่อกะเทาะเปลือกที่ปกปิดในใจคนไข้ให้แยกออกมาชัดเจนแล้วดึงตัวตนความจริงของคนนั้นกลับคืน
  • หากตัวผู้ป่วยไม่อยากให้ญาติรับรู้ว่าตนเองเป็น สามารถปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อรักษาแบบตัวต่อตัวได้ การพบกับแพทย์โดยส่วนตัวย่อมเป็นทางออกที่ดีกว่า หรือไม่ก็เอาคนที่ไว้ใจที่สุดอยู่ข้างๆ ผู้ป่วยให้รู้สึกดี มั่นใจและลดความเครียดในใจลง

เรียกได้ว่าโรคหลายบุคลิกก็ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างมาก เนื่องจากวินิจฉัยยาก และปฏิเสธการรักษา เนื่องจากในสังคมไทยยังมองว่าจิตเวชเป็นเรื่องประหลาด และโอกาสมีบาดแผลในใจจะซ้ำสูง

จึงส่งผลต่อการได้ผลในการรักษาในทางไม่ดี จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจอย่างมาก แต่ทั้งนี้จะต้องต่อเนื่องควบคู่กับการทำจิตบำบัดสม่ำเสมอ

ติดตามบทความ good healthy ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com