“โรคความดันโลหิตสูง” ดูแลตัวเองอย่างไรดี

“โรคความดันโลหิตสูง” ดูแลตัวเองอย่างไรดี

โรคความดันโลหิตสูง 2

โรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง มีพื้นฐานเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพที่เป็นหลักสำคัญในการควบคุมระดับความดันโลหิตสูง

อย่างเช่น การปรับปรุงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพของตัวเราเองและรวมทั้งการรักษาโดยการทานยาตามคำสั่งแพทย์ควบคู่กันไปด้วย  การปฏิบัติและดูแลรักษาสุขภาพตามหลักเบื้องต้นดังกล่าวจะทำให้เรามีภาวะความดันโลหิตสูงที่อยู่ในระดับที่ดีควบคุมได้ และเราผู้ที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงก็จะสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุขในชีวิตประจำวันของเราได้ในทุกๆวันนั่นเองค่ะ

ความหมายของค่าความดันโลหิตในแต่ละระดับที่เราควรทราบ

ความดันโลหิต เป็นแรงดันที่ผลักต้านภายในหลอดเลือดในระบบไหลเวียนโลหิต  มีค่าตัวเลข 2 ค่า ได้แก่

  • ความดันโลหิตซีสโตลิก เป็นค่าความดันขณะที่หัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ความดันโลหิตไดแอสโตลิก เป็นค่าความดันขณะหัวใจคลายตัวดังนั้นการรายงานผลความดันโลหิตจึงประกอบด้วยตัวเลข  2 ตัวเสมอ เช่น วัดความดันโลหิตได้ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตในแบบซีสโตลิก (มิลลิเมตรปรอท)
  • น้อยกว่า 120 ถือว่าเป็นค่าความดันโลหิตระดับปกติ -120-139 ระดับที่ต้องควรระมัดระวังก่อนการเป็นความดันโลหิต
  • 140 ขึ้นไป ถือว่าเป็นระดับที่เรามีค่าความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (มิลลิเมตรปรอท)
  • น้อยกว่า 80 ถือว่าเป็นระดับความดันโลหิตปกติ
  • 80-89 ถือว่าเป็นระดับที่เราควรระมัดระวังก่อนการเป็นความดันโลหิตสูง
  • 90 ขึ้นไป ถือว่าเรามีระดับความดันโลหิตสูง

การเป็นโรคความดันโลหิตสูง ในปัจจุบันเรายังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่ว่าจะมีสาเหตุที่เป็นปัจจัยร่วมบางอย่างที่ทำให้เราเป็นความดันโลหิตสูงได้

แต่ที่ถือเป็นสาเหตุปัจจัยหลักๆ มีอยู่  2 สาเหตุ คือ พันธุกรรมและพฤติกรรม และน้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ เช่น ความดันโลหิตสูงจากการใช้ยาคุมกำเนิดบางชนิด หรือการเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไต เป็นต้น แต่คนที่เป็นส่วนใหญ่แล้วจะไม่ทราบสาเหตุ

การดูแลรักษาสุขภาพตนเองของผู้ที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง

  • การทานอาหาร

หากเราจะทานเนื้อสัตว์ ควรทานเป็นเนื้อสัตว์แบบไม่ติดมัน และควรจะทานผักผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทานมากเกินไป เพราะผลไม้หลายชนิดมีรสหวาน หากเลือกจะทานนมก็ควรเป็นนมที่มีไขมันต่ำ

  • การออกกำลังกาย

ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรเลือกการออกกำลังกายแบบแอโรบิค(Aerobic exercise) หรือการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง ระดับการออกกำลังกายที่สามารถออกได้ คือเบาถึงปานกลาง หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักหรือหักโหมจนเกินไป

  • บุหรี่และสุรา

ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงควรงดสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา เนื่องจากทั้งบุหรี่และสุราส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพและต่อระดับความดันโลหิต

  • การใช้ยา

ควรทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปรับยาเอง การทานยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้รักษาประจำตัวของเรา

นี่คือการดูแลรักษาสุขภาพตนเองของคนที่เป็นความดันโลหิตสูง ให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และสามารถทำให้เราใช้ชีวิตประจำวันอยู่ได้อย่างมีความสุข

ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com