ในชีวิตคนเราอาจมีโอกาสสัมผัสสารก่อมะเร็งโดยที่เราเองยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เช่น สารอะฟลาทอกซิน ในอาหารแห้งอย่างมันสำปะหลัง พืชผัก ผลไม้ที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ อย่างปาท่องโก๋ มลพิษทางอากาศ ปัจจัยทางพันธุกรรมก็มีส่วนเกี่ยวข้อง
แม้กระทั่งผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่โดยตรง ยังมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งปอด การทานผักผลไม้ที่ไม่ได้ปลอดสารพิษ ยาฆ่าแมลง และพยาธิ แม้แต่ข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ ต้องเลือกสรรอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณภาพก่อนรับประทานกันด้วยนะคะ

Cr.pic;freepik.com
– หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและสารก่อมะเร็ง ปัจจุบันคนเราใช้ชีวิตเร่งรีบ ทำให้ผู้คนนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน กับข้าวถุง ซึ่งอาจปนเปื้อนสารที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย เช่น อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ เช่น ปาท่องโก๋ ทอดมัน ถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุ ผักที่ไม่ล้างให้สะอาด กล่องโฟมที่ถูกความร้อนของอาหาร อาจมีสารปนเปื้อนออกมา อาหารผสมสีสังเคราะห์ ที่รับประทานไม่ได้ อาหารปิ้งย่าง ไหม้เกรียม
– อะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่ปนเปื้อนมาในอาหารแห้ง เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสารนี้ไม่สามารถถูกทำลายโดยการปรุงสุกด้วยความร้อน ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้ และสารไนโตรซามีน เกิดจากการทานเนื้อสัตว์หมักที่ไม่สุก สารที่ปนเปื้อนดินประสิว มีส่วนช่วยให้เนื้อสัตว์แดง เช่น แหนม ไส้กรอก กุนเชียง แต่สารนี้สามารถหายไปได้ เมื่อนำไปปรุงสุกด้วยวิธีการต่างๆ

Cr.pic;freepik.com
– ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ การดื่มเหล้าบ่อยๆจะทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งตับแข็งได้ และการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำโดยที่เราไม่ได้สูบนั้นทำให้เสี่ยงเกิดมะเร็งปอด และมะเร็งกล่องเสียงได้ แต่ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ก็เสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้ เพราะมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิด
– อันตรายจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมแร่ใยหิน เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง ทำให้มีโอกาสสูดดมสะสมในปอดทีละน้อย และร่างกายไม่สามารถกำจัดสารเหล่านี้ออกไปได้ ทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดได้ในอนาคตและโรคแอสเบสโตซีสได้ในอนาคต แสงแดด การถูกแสงแดดนานๆ อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้

Cr.pic;freepik.com
– หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เป็นการป้องกันระดับหนึ่ง เช่น คลำพบก้อนผิดปกติในร่างกาย ตกขาวปริมาณมากและผิดปกติ มีเลือดกะปริบกะปรอยที่ไม่ใช่ประจำเดือน การขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย
นอกจากนี้ควรตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก พันธุกรรมก็มีส่วนเกี่ยวข้อง พฤติกรรมเสี่ยงทิอาจก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น การมีคู่หลายคน เช่น คนที่เป็นหูดหงอนไก่ เสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก ไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ น้ำหนักลดผิดปกติและเบื่ออาหาร การติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com