
cr.pic:https://th.wikihow.com
คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ตั้งแต่มี่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ได้เลยค่ะ เพราะลูกน้อยในครรภ์สามารถรับรู้ถึงความรักและสัมผัสไออุ่นรักจากแม่ได้ ซึ่งลูกน้อยของเราสามารถตอบสนองสัมผัสของแม่ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์และสภาพแวดล้อมที่ดี คุณแม่สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีได้โดยการพูดคุยโต้ตอบกับลูกบ่อยๆ ให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูกน้อย และถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นคนที่อารมณ์ดี มีความสุข ไม่เครียดบ่อยๆ เท่านี้ก็สามารถพัฒนาเซลล์สมองของลูกน้อยให้เจริญเติบโต และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
วิธีสร้างเสริมพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์

cr.pic:https://th.wikihow.com
1.พัฒนาการด้านการได้ยิน ประมาณอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะประสาทสัมผัสและระบบการได้ยินของทารกจะพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์ในช่วงนั้น หลังคลอดเมื่อเปิดเพลงเดิมๆนั้น จะช่วยให้ทารกไม่ร้องกวนและหลับง่ายขึ้น เนื่องจากความเคยชินต่อเสียงเพลงนั้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์เพลงที่ฟังสบาย ๆ แถมยังช่วยบรรเทาความเครียดของคุณแม่ด้วยซึ่งเขาสามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งที่อยู่รอบตัวได้
การส่งเสริมพัฒนาการทารกในอายุครรภ์เท่านี้ สามารถทำได้โดยการใช้เสียงดนตรีที่มีทำนองจังหวะเบาๆ เปิดเพลงบรรเลงเย็นๆ เช่น เพลงคลาสสิค เพลงไทยเดิม เพลงสไตล์เบาๆ อย่างน้อย ครั้งละ 10-15 นาทีก็เพียงพอแล้ว และเสียงหนึ่งที่สำคัญต่อลูกไม่แพ้กันก็คือ เสียงของคุณแม่ คุณแม่ควรพูดคุย หรือเล่านิทาน กล่อมลูกน้อยให้นอนหลับฝันดีเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ลูกเกิดความคุ้นเคยและจดจำน้ำเสียงของแม่ได้
ให้คุณแม่พูดคุยกับลูกน้อยในครรภ์ด้วยโทรโข่ง จะทำด้วยตนเองก็ได้โดยใช้แก้วน้ำพลาสติก2ใบ แล้วเจาะรูที่ก้นแก้ว เพื่อร้อยเชือกที่ก้นแก้วทั้งสอง ผูกเชือกที่ก้นแก้วทั้งสอง ให้แก้วทั้งสองอยู่คนละฝั่งกัน เวลาใช้งาน ให้นำแก้วหนึ่งใบมาวางทาบที่ท้อง แก้วอีกฝั่งหนึ่งสำหรับให้คุณแม่พูดคุยกับน้อง มารดาอาจจะนำกระดาษหนังสือพิมพ์มาม้วนให้เป็นรูปกรวย
จากนั้นนำปลายที่กว้างวางลงบนหน้าท้อง แล้วพูดคุยก็โดยผ่านกรวยนั้น อย่างน้อย 10 นาทีต่อครั้ง ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เสียงดนตรีจะทำให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญา เสียงที่นุ่มนวล เสียงร้องเพลง จะช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์จดจำเสียงนั้นได้ดีขึ้น

cr.pic:https://th.wikihow.com
2.พัฒนาการด้านความรู้สึกและความเคลื่อนไหว เมื่ออายุครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ระบบประสาททางการเคลื่อนไหวของทารก จะสามารถรับรู้การสัมผัสของมารดาซึ่งการลูบหน้าท้องและนั่งบนเก้าอี้โยก หรือชิงช้า คุณแม่เองก็จะรู้สึกผ่อนคลายขณะนั่งเล่นบนเก้าอี้โยกและรู้สึกผูกพันกับลูกน้อยขณะลูบหน้าท้องตนเอง โดยเฉพาะขณะที่คุณแม่ขยับตัวหรือลูบและสัมผัสทารกในครรภ์ ผิวของลูกน้อยจะสัมผัสกับผนังหน้าท้องด้านในของมดลูก จะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านความรู้สึกการนั่งบนเก้าอี้โยกไปมานั้น
นอกจากเป็นการกระตุ้นเซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวแล้ว ยังทำให้ลูกน้อยของเราได้ปรับตัวเข้าหาสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น. การลูบหน้าท้องก็เช่นกัน ทารกจะมีการเคลื่อนไหวและการได้รับสัมผัสเวลาที่อยู่ในครรภ์ในทุกสัมผัสที่เกิดขึ้น จะเพิ่มประสิทธิภาพและความไวในการรับรู้ของทารก การสัมผัสน้ำอุ่นน้ำเย็น เพื่อพัฒนาเชลล์ประสาทส่วนรับความรู้ร้อนหนาวและปรับสภาพ ให้ทารกชินกับความอุ่นความเย็น โดยเอาน้ำใสในขวดสัมผัสตามหน้าท้องของมารดาเป็นเวลาสองนาที

cr.pic:https://th.wikihow.com
3. พัฒนาการด้านการมองเห็นทารกจะพัฒนาเต็มที่ และรับรู้ผ่านการมองเห็นได้เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ทางการแพทย์จะใช้แสงสว่างส่องเข้าไปทางปากมดลูก เพื่อดูการตอบสนองการเต้นของหัวใจและทดสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ ถ้าการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้นตอนส่องไฟ แสดงว่าทารกตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมดี และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ใช้ไฟฉายส่องบริเวณหน้าท้องจะกระตุ้นพัฒนาการทางด้านการมองเห็นนี้ จะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการมองเห็นของทารก
อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของทารกในครรภ์ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะคุณพ่อและคุณแม่ ควรศึกษาเกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตั้งแตในครรภ์ และปฏิบัติอย่างถูกต้อง การได้อยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้นในครอบครัว และสามารถถ่ายทอดความรักความห่วงใยไปสู่ลูกน้อยได้มากขึ้นเช่นกันส่งผลดีต่อลูกในครรภ์ให้ร่าเริง แจ่มใส ฉลาดหลักแหลม สามารถมีพัฒนาการด้านต่างๆได้ดี
ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com