วิธีการเตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีน Covid-19 สำหรับเด็กโดยเฉพาะ

วิธีการเตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีน Covid-19 สำหรับเด็กโดยเฉพาะ

วิธีการเตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีน Covid-19 สำหรับเด็กโดยเฉพาะ

            จากภาพรวมของสถานการณ์การติดโรคโควิด – 19 ในเด็กจะมีน้อยกว่าผู้ใหญ่ และอาการก็มักจะไม่รุนแรง การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน covid-19 ให้เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยมีวัคซีนที่ได้รับการรับรอง และขึ้นทะเบียนกับ อ ย. ให้ใช้ในเด็ก และวัยรุ่นได้ก็คือ ไฟเซอร์  และในรอบนี้จะมีการนำร่องฉีดให้กับนักเรียนในจังหวัดนนทบุรีก่อน โดยเริ่มในวันที่ 4 – 8 ตุลาคมนี้ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนถึงจะฉีดวัคซีนได้ และสถานที่ฉีดนั้นจะใช้พื้นที่ห้องพยาบาลของแต่ละโรงเรียน โดยวัคซีนไฟเซอร์สำหรับกลุ่มเป้าหมายนักเรียน จะให้ระยะห่างระหว่างเข็ม 1 – 2 อยู่ที่ประมาณ 4 สัปดาห์ และนักเรียนมีจำนวนราว 4.8 ล้านคนทั่วประเทศ

เตรียมความพร้อมเปิดเรียนรับวัคซีนถ้วนหน้า

            จากการหารือกันระหว่างกับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทยมีแนวทาง การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้แก่ การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ให้แก่กลุ่มที่มีอายุ 12 ปีจนถึง 17 ปี 11 เดือน 29 วันในวันที่ฉีด และได้อนุโลมให้กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีอายุเกิน 17 ปี 11 เดือน 29 วันได้ฉีดด้วยในเดือนต.คเป็นต้นไป จะเริ่มฉีดให้กับนักเรียน – นักศึกษา ในพื้นที่ครอบคลุมสูงสุด และเข้มงวดสีแดงเข้ม 29 จังหวัดก่อน

ต้องให้ผู้ปกครองยินยอมก่อนฉีด

สำหรับแผนการฉีดไฟเตอร์ให้กับนักเรียนที่อายุ 12 – 17 ปี ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองก่อน และคาดว่าภายในต้นเดือน ตุลาคม 2564 นี้ จะได้ข้อสรุปจำนวนนักเรียนที่ผู้ปกครองยินยอมให้ฉีดได้

คำแนะนำฉีดไฟเซอร์แก่เด็ก

            ไฟเซอร์เป็นวัคซีนชนิด mRNA ชื่อทางการ BNT162b2 ผู้คิดค้นคือบริษัทไฟเซอร์ ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันไอโบเอ็นเท็ค และได้รับการอนุมัติจาก อย. เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564  และเป็นวัคซีนโควิดรายที่ 6 ที่ผ่านการอนุมัติจาก อย.

คำแนะนำฉีดวัคซีน covid-19 จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ได้ออกประกาศคำแนะนำ โดยสำรวจผู้ที่มีภาวะเสี่ยง และมีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคดังนี้

            1. โรคอ้วน

            2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง

            3. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง

            4. โรคไตวายเรื้อรัง

            5. ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และโรคมะเร็ง

            6. โรคเบาหวาน

            7 กลุ่มโรคทางพันธุกรรม รวมทั้งเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบสมองอย่างรุนแรง และเด็กพัฒนาการช้า

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็กไทย

            หลังจากได้มีการพบอาการที่ไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน คณะผู้เชี่ยวชาญได้วินิจฉัยว่าเข้าข่ายอาการรุนแรง คือกลุ่มเนื้อหัวใจอักเสบ ประเทศไทยพบแล้ว 1 รายเป็นเพศชายอายุ 13 ปี เป็นโรคอ้วน  แต่ในปัจจุบันรักษาหายเป็นปกติแล้ว จากรายงานอุบัติการณ์ ของอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  และเนื้อหุ้มหัวใจอักเสบพบ 16 ราย  ใน 1 ล้านโดส ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อาการพบได้ใน 30 วันหลังจากได้รับวัคซีน และพบได้มากในเข็มที่ 2 อัตราการเกิดสูงสุดในเพศชายอายุ 12 ถึง 17 ปี กลุ่มรองลงมาที่พบคืออายุ 18 ถึง 24 ปี และไม่มีรายงานในผู้สูงอายุ

สรุป

ในการฉีดวัคซีนไฟเชอร์ให้กับกลุ่มเด็ก และเยาวชนนั้นให้เป็นความสมัครใจของผู้ปกครองของเด็กไม่ได้บังคับ ดังนั้นผู้ปกครองจะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นของการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งทั้งนี้ต้องดูที่ประโยชน์ และความเสี่ยงที่ลูกหลานจะได้รับ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเตรียมความพร้อมให้กับเด็กนักเรียนก่อนการเปิดภาคเรียนใหม่ ที่จะถึงนี้

ขอบคุณภาพโดย https://pixabay.com/

ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com