คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในสถานการณ์โควิด-19 อาจมีความกังวลหลายอย่าง กลัวว่าลูกจะติดเชื้อ กลัวว่าตัวคุณแม่เองจะติดเชื้อเพราะหากติดเชื้อโควิด-19ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อยู่ในไตรมาสที่ 3 หรือ 28-40สัปดาห์แล้วหล่ะก็ จะมีอาการที่รุนแรง เช่น เกิดภาวะปอดอักเสบ ซึ่งเป็นสภาวะที่อันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณแม่ เนื่องจากในไตรมาสที่ 3 สรีรร่างกายของคุณแม่นั้นมีขนาดระดับยอดมดลูกใหญ่ขึ้นตามอายุครรภ์ จนทำให้ปอดของคุณแม่ขยายตัวได้ไม่เต็มที่ กังวลและเครียดเกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่ายช่วงตอนที่คลอดและหลังคลอด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย คุณแม่จึงควรรู้วิธีดูแลตนเองและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

Cr.pic: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/info.php#
1.มาฝากครรภ์ตามนัดหมายของแพทย์ทุกครั้ง ในครั้งแรก มาฝากครรภ์เมื่อออายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์ หลังจากนี้ก็ควรมาตรวจตามอายุครรภ์ดังนี้ เมื่ออายุครรภ์ 18 สัปดาห์ อายุครรภ์ 26 สัปดาห์โดยช่วงนี้จะนัดตรวจครรภ์ทุก 4 สัปดาห์ อายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์โดยช่วงนี้จะนัดตรวจครรภ์ทุก 2 สัปดาห์ เมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป จะนัดตรวจครรภ์ทุกสัปดาห์ จะตรวจทันถี่ขึ้นในช่วงใกล้คลอด และคุณแม่
หรือสามีช่วยทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน จะสุกสะอาด ปลอดภัยกว่าซื้ออาหารจากนอกบ้านเข้ามารับประทานในบ้าน คุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ด้วยการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการจากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กสีชมพู นับลูกดิ้นในไตรมาสที่2 และกระตุ้นพัฒนาการโดยการพูดคุย ลูบหน้าท้อง เปิดเพลง และส่องไฟที่หน้าท้อง พักผ่อนให้เพียงพอ 8-9ชั่วโมง ไม่ควรเครียด เพราะจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ จะเกิดอาการท้องแข็งได้

Cr.pic: https://www.petcharavejhospital.com/
2.หากออกไปข้างนอก เพื่อไปฝากครรภ์ควรนั่งรถยนต์ส่วนตัว เพื่อลดการสัมผัสเชื้อ หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า เว้นระยะห่าง 2 เมตร ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น หากคุณแม่ติดเชื้อ
โควิด-19 จะส่งผลให้ลูกน้อยในครรภ์คลอดก่อนกำหนด แต่น้องปลอดภัยเพราะไม่สามารถติดเชื้อโควิดและหากหลังคลอด คุณแม่ติดโควิดก็ยังให้นมลูกน้อยได้ถึง6 เดือนหรือนานกว่านี้ได้นิ่งดี เพราะ น้ำนมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนและลูกน้อยควรได้รับอาหารเสริมช่วงอายุ 7 เดือนเป็นต้นไป แต่ก่อนให้นมควรล้างมือให้สะอาด ไม่ควรทาครีมที่หน้าอก รวมถึงทำความสะอาดหัวนม ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เครื่องปั๊มนมด้วย แต่คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวร่วมกับการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีอาการรุนแรงมากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป

Cr.pic: https://www.petcharavejhospital.com/
3.สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ทารกดิ้นน้อยลง เลือดออกทางช่องคลอดร่วมกับมีอาการเจ็บครรภ์ ควรรีบมาพบแพทย์

Cr.pic: https://www.petcharavejhospital.com/
4.คุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่ให้นมบุตรสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19ได้ทุกชนิด และหลังฉีดวัคซีนยังคงสามารถให้นมลูกน้อยได้ อาจได้รับผลข้างเคียงจากวัคซีนบ้าง แต่ไม่เป็นอันตราย
ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com