กู้ดไนท์! นักวิทยาศาสตร์เข้าใกล้การปลดล็อคให้ทุกคนฝันดี

กู้ดไนท์! นักวิทยาศาสตร์เข้าใกล้การปลดล็อคให้ทุกคนฝันดี

กู้ดไนท์! นักวิทยาศาสตร์เข้าใกล้การปลดล็อคให้ทุกคนฝันดี

คุณเคยฝันหรือเปล่า? แน่นอนทุกคนเคยฝัน

แต่คุณเคยควบคุมความฝันตัวเองได้หรือเปล่า เคยตื่นในฝันแล้วอุทานว่านี่เรากำลังฝันอยู่นี่นา หรือเปล่า?

50% ของพวกเรามีประสบการณ์ในการตื่นในความฝัน และหลังจากนั้นจะสามารถควบคุมความฝันได้บางส่วนหรือทั้งหมด คนที่มีประสบการณ์นี้โดยส่วนใหญ่ต่างชื่นชอบมันเพราะว่าเหมือนอยู่ในโลกเสมือนจริงที่สามารถกำหนดสิ่งต่างๆได้เอง

แต่น่าเสียดายที่แม้มันจะเป็นประสบการณ์ที่ดี แต่คนที่เคยมีประสบการณ์แบบนี้ อาจได้รับมันเพียงหนึ่งหรือสองครั้งเท่านั้นในชีวิต

เรื่องนี้ฟังดูเหมือนเรื่องลี้ลับหรือสิ่งเหนือธรรมชาติที่คนทั่วไปก็เพียงแต่รอคอยว่าจะได้มีประสบการณ์แบบนี้สักครั้ง หรืออีกครั้ง

นอนหลับชาย

แต่ไม่เป็นอย่างนั้นกับ Lucidity Institute สถาบันที่มีชื่อตรงตัวว่าความชัดเจน ที่มาจากคำว่า Lucid dream ที่แปลว่าฝันอย่างรู้ตัว(ชัดเจน) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1987 ที่มุ่งศึกษาการฝันของคนเราโดยรวมไปถึงระบบประสาทและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ทำให้เราฝัน

เร็วๆนี้นักวิจัยพบความเชื่อมโยงของของการใช้ยากาแลนตามีน (Galantamine)ที่ใช้ช่วยในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ กับการควบคุมความฝัน

ตัวยาโดยตัวมันเองไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาด แต่ช่วยกระตุ้นการเพิ่มความจำ การตระหนักรู้ ทำให้คนเป็นอัลไซเมอร์สามารถใช้ขีวิตประจำวันได้ดีขึ้น โดยฤทธิ์ของตัวยาทำงานโดยตรงกับสารสื่อประสาทภายในสมอง

และเมื่อมันช่วยกระตุ้นความสามารถของสมองในการตระหนักรู้ได้ ดังนั้นก็อาจมีผลกับการทำให้เกิดการตระหนักรู้ตัวเองในระหว่างการฝันได้

สถาบัน ลูซิดดิตี้

สถาบัน Lucidity ได้ทำการทดลองกับอาสาสมัคร 121 คนเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างยากาแลนตามีน กับการควบคุมฝัน

โดยที่อาสาสมัครเหล่านี้ไม่ใช่คนธรรมดาทั่วไป พวกเขาคือกลุ่มคนที่ผ่านการฝึกฝนในโปรแกรมของสถาบันในการควบคุมควมฝันของตัวเอง ดังนั้นพวกเขาคือกลุ่มคนที่มีอัตราการควบคุมความฝันได้มากกว่าคนทั่วไปอยู่มากอยู่แล้ว

การทดลองจัดขึ้นเป็นเวลาต่อเนื่องสามวัน โดยเริ่มต้นด้วยด้วยเม็ดยาหลอกก่อน จากนั้นถัดไปอีกวันได้รับกาแลนตามีน 4 มิลลิกรัม และในวันสุดท้ายรับยาเพิ่มเป็น 8 มิลลิกรัม

โดยที่พวกเขาจะใช้เวลาประมาณ4.5ชั่วโมงหลังดับไฟไปแล้วปฏิบัติตามเทคนิคที่ฝึกฝนมา แล้วจึงรับยาและนอนหลับ

ผลการทดลองน่าสนใจมาก เพราะในคืนแรก 14 เปอร์เซ็นของผู้เข้ารับการทดสอบรายงานว่าเกิดลูซิดดรีม หรือรู้ตัวว่ากำลังฝันอยู่ ในขณะที่คืนที่สองมีเพิ่มขึ้นถึง 27 มิลลิกรัมเมื่อมีตัวยาเข้าช่วยที่ 4 มิลลิกรัม และในคืนสุดท้ายที่มียาเพิ่มเป็น 8 มิลลิกรัม จำนวนผู้ที่รู้ตัวขณะฝันมีมากถึง 42 เปอร์เซ็นต์

ฝันดี

แน่นอนว่าถึงแม้พวกเขาจะไม่ใช่คนทั่วไป พวกเขาฝึกฝนมาเพื่อรับรู้ประสบการณ์การควบคุมความฝัน แต่ว่าการที่ความสามารถในการตื่นขณะฝันได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญบ่งบอกว่าพวกเขาประสบความสำเร็จในการทดลอง และเข้าใกล้กับการไขความลับของการควบคุมความฝัน

ใครจะทราบว่าต่อจากนี้เทคโนโลยีนี้จะทำให้เกิดอะไรขึ้นได้บ้าง การทบทวนความจำระหว่างการฝัน อย่างที่เห็นในหนังไซไฟอาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

วันหนึ่งข้างหน้า การบอกว่า “ฝันดีนะ” ก่อนนอน อาจจะไม่ใช่แค่การอวยพร แต่หมายถึง “ฝันดี” อย่างแน่นอนก็เป็นไปได้

ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com