หากใครที่ไปอัลตราซาว์มาแล้วพบว่า มีลูกแฝดที่น่ารักแล้วหล่ะก็ ต้องดูแลตนเองตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ จนถึงระยะหลังคลอดเลยทีเดียว เพื่อสุขภาพที่ดีของน้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และสุขภาพของคุณแม่
1 ช่วงระยะตั้งครรภ์

Cr.pic; https://www.huggies.co.th/
– อาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดจะต้องได้รับปริมาณอาหารมากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์คนอื่นๆ เพราะควรได้รับโปรตีนเป็นสองเท่าต่อวัน ควรทานอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เท่ากับก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ควรทานอาหารปรเภทแป้งและน้ำตาลมากไป เพราะจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ทานอาหารที่มีไขมันดี เช่น ปลาแซลมอน และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างหลากหลาย อย่างน้อย 2,500 แคลอรี่ต่อวัน ควรทานอาหาร ผัก ผลไม้ ที่มีวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินซี และวิตามินบี6 ประมาณ 2 มก.ต่อวันในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด และที่สำคัญควรทานอาหารเสริมธาตุเหล็กขนาด 120 มิลลิกรัมต่อวัน วันละ 2 เม็ดหรือตามแผนการรักษาของแพทย์ และกรดโฟลิคขนาด 1 มิลลิกรัมต่อวัน ตามแผนการรักษาของแพทย์
– ดูแลสุขอนามัย ในช่วงนี้จะรู้สึกร้อน ทำให้มีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ระวังลื่นในห้องน้ำ ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น ดูแลทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดเป็นพิเศษ ควรบ้วนปากหลังรับประทานอาหารด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำเกลือ ใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงอ่อนนุ่ม ควรไปตรวจสุขภาพฟันจากทันตแพทย์อย่างน้อย 3 เดือน 1 ครั้ง ระวังไม่ให้ฟันผุ ดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และการขับถ่าย หลังเสร็จภารกิจ

Cr.pic; https://www.huggies.co.th/
– การเลือกเสื้อผ้าสวมใส่ เต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น มีการคัดตึงเต้านม ให้ใส่ยกทรงเพื่อช่วยพยุงเต้านม และชุดชั้นในไม่ควรรัดเต้านมเกินไป จะทำให้ใส่ไม่สบาย เลือกลสวมใส่เสื้อผ้าคลุมท้อง ไม่รัดแน่น เนื้อผ้าเบาสบาย
– หากเดินทางไปทำงานด้วยรถยนต์ ควรให้เข็มขัดนิรภัยคาดใต้ท้อง หากเดินทางไปท่องเที่ยวไกล ให้หยุดพักระหว่างเดินทางทุก 2 ชั่วโมง และควรได้รับวัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับให้ครบทุกครั้ง เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีน คอตีบ บาดทะยัก
– ควรให้นอนพักผ่อนให้มากขึ้น 8-10 ชั่วโมงต่อวัน หากเป็นไปได้ควรนอนพักกลางวัน วันละ 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรทำงานหนัก เพราะอาจทำให้แท้งลูกได้ ควรนอนพักผ่อนในท่านอนตะแคงซ้ายเพื่อให้มดลูกไม่กดทับเส้นเลือด และเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น

Cr.pic; https://www.huggies.co.th/
– งดมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่อายุครรภ์มากขึ้น ช่วงไตรมาสที่ 3 แต่ช่วงไตรมาสแรกๆ ยังสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ไม่ควรใช้ท่าที่รุนแรง ไม่กดทับหน้าท้อง อวัยวะเพศชายเข้าไม่ลึกไป หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น เด็กดิ้นน้อยลง ตาพร่ามัว บวม มีน้ำเดินหรืออาการของการเจ็บท้องคลอดจริง ให้มาพบแพทย์ก่อนกำหนดได้
– การมาตรวจตามนัด จะนัดตรวจทุก 2 สัปดาห์ เมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ และจะตรวจครรภ์ด้วยเครื่องตรวจพิเศษทุกสัปดาห์เมื่ออายุครรภ์ได้ 32 สัปดาห์ และอัลตราซาวน์ทุกเดือนเพื่อดูการเจริญเติบโตทารกในครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์

Cr.pic; https://www.huggies.co.th/
2. ระยะหลังคลอด
ให้คุณแม่ฝึกคลึงมดลูกให้กลมแข็งจากพยาบาล และจำปริมาณน้ำคาวปลา ลักษณะ สี กลิ่น และความถี่ในการเปลี่ยนผ้าอนามัยหรือผ้ารองรับน้ำคาวปลา อุ้มลูกเข้าเต้าให้ลูกน้องดูดนมให้เกลี้ยงเต้า ดูดถูกวิธีโดยให้ปากของลูกอมหัวนมให้มิด ให้ลูกดูดนมบ่อย และเลือกวิธีการคุมกำเนิด เพื่อเว้นระยะการมีบุตร
การตั้งครรภ์ลูกแฝด มีความเสี่ยงมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรดูแลตนเองให้ดีตั้งแต่ตั้งครรภ์ และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง จะเป็นการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยในท้องนะคะ
ติดตามบทความ good health ในทุกสัปดาห์ได้ที่ howto-healthy.com